การติดตั้งโปรแกรมและส่วนประกอบของโปรแกรม Desktop Author

ขั้นตอนการติดตั้ง1. ดาวน์โหลด File Program จาก http://www.banmaechan.ac.th/program.html     ดาวน์โหลด เอกสารชื่อ ละมุนพรรณDeAu   
2. หลังจากดาวน์โหลดมาแล้วให้แตกไฟล์ที่ Zip ไว้  จะได้ไฟล์ ชื่อ DTAEVL.EXE

3. ให้ดับเบิลคลิกไฟล์  DTAEVL.EXE   จะปรากฏกรอบเริ่มต้นการติดตั้ง  ดังภาพ
  4. จากนั้น จะแสดงกรอบยินดีต้อนรับสำหรับการติดตั้งโปรแกรม  ให้คลิกปุ่ม Next >  เพื่อดำเนินการต่อไป


5. จะปรากฏหน้าต่าง ข้อตกลงเกี่ยวลิขสิทธิ์โปรแกรม DeskTop Author 4.5.7 
ให้คลิกเลือก
  I accept  the license agreement   แล้วคลิกปุ่ม  Next >  


6.  ให้ป้อนชื่อผู้ใช้และสถานที่ทำงาน และเลือกรูปแบบการใช้งาน  ดังภาพ     จะนั้นให้คลิกปุ่ม Next >
 

7. กำหนดที่ตั้งของไฟล์โปรแกรม ให้คลิกปุ่ม Next >  เพื่อดำเนินการต่อไป
8.  คลิกปุ่ม Next > เริ่มต้นติดตั้งโปรแกรมต่อไป
9. โปรแกรมกำลังดำเนินการติดตั้ง ให้รอประมาณ ไม่เกิน นาที (แล้วแต่ความเร็วของเครื่องคอมพิวเตอร์)
10. ให้ยกเลิกเครื่องหมายถูกในช่อง Launch DeskTopAuthor Evaluation ออกก่อน แล้วคลิกปุ่ม Finish เป็นอันสิ้นสุดการติดตั้ง
ยกเลิกเครื่องหมายถูก
 
11. เข้าไปยังโฟลเดอร์การติดตั้งโปรแกรมที่เราแตกไฟล์ออกมาอีกครั้ง แล้วให้ดับเบิลไฟล์ชื่อ โปรแกรมแก้ไข DeskTop Author ให้ ทำงาน แล้วคลิกปุ่ม Finish เป็นอันสิ้นสุดการติดตั้ง

















กล่องข้อความ:  12. หลังจาก Setup เสร็จ เรียกโปรแกรมขึ้นมาจะพบกับหน้าตาโปรแกรม ดังรูป

2.2 ส่วนประกอบของโปรแกรม Desktop Author


1. New ใช้สำหรับการสร้างงานใหม่
2. Open ใช้สำหรับเปิดงานที่มีอยู่แล้วเพื่อดูหรือแก้ไข
3. Save ใช้สำหรับบันทึกไฟล์งานที่ได้ทำขึ้น
4. Page ใช้สำหรับชมตัวอย่าง (Preview) งานที่ได้ทำขึ้นมา
5. Package (EXE) ใช้บีบอัดไฟล์งานทั้งหมดที่ทำขึ้นมาให้รวมเป็นไฟล์เดียวโดยมีนามสกุลเป็น .EXE
6. Package (DNL) ใช้บีบอัดไฟล์งานทั้งหมดที่ทำขึ้นมาให้รวมเป็นไฟล์เดียวโดยมีนามสกุลเป็น .DNL สำหรับการทำเว็ปไซด์
7. Package (DRM) ใช้ป้องกันไฟล์งานทั้งหมดที่ทำขึ้นมาเพื่อนำเสนอในเวบไซด์ไฟล์เดียวโดยมีนามสกุลเป็น .DRM
8. Package (SCR) ใช้ในการทำ Screen Saver
9. Publish ใช้สำหรับใส่ไฟล์ DNL ลงในเวบไซด์
10. Upload ใช้สำหรับ Upload ไฟล์ที่ได้ทำขึ้นเวบไซด์
11. Multimedia ใช้ในการแทรกไฟล์มัลติมีเดียต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเพลง หรือ มิวสิควีดีโอ หรือ ภาพยนตร์ สนับสนุนไฟล์นามสกุล .swf, .wma, .wav เป็นต้น
12. Eazyform ใช้ในการแทรกคำถาม คำตอบ และเพิ่ม Object ต่างๆลงในงาน
13. Refresh ใช้สำหรับ Refresh งานที่ทำ
14. Properties ใช้ตั้งค่าต่างๆของ งานที่ทำ
15. Template ใช้เลือกรูปแบบต่างๆ ให้กับชิ้นงาน
16. Buttons ใช้เลือกปุ่มต่างๆที่จะให้มีในงานของเรา




3. การกำหนดคุณสมบัติของแฟ้มข้อมูลหนังสือ



เปิดโปรแกรม Desktop Author ขึ้นมา เลือก New
จะปรากฏหน้าต่าง Book Properties เพื่อให้ผู้ใช้กำหนดคุณสมบัติของแฟ้มหนังสือ




รายละเอียด
1. Width   เลือกความกว้างของหนังสือ
2. Height : เลือกความสูงของหนังสือ
3. Border Colour : เลือกสีของขอบหนังสือ
   No Border : เลือกว่าจะให้หนังสือมีขอบหรือไม่มี ถ้าให้หนังสือมีขอบให้เอาเครื่องหมายถูกออก
4. Paper Colour : เลือกสีของหน้ากระดาษ
5. Mask Colour : เลือกสีที่ใช้สำหรับการทำรูปให้โปร่งใส
6. Background Colour : เลือกสีพื้นหลัง
7. Character Set : เลือกภาษาที่ใช้
8. Text default left : เลือกขนาดความห่างของกล่องข้อความกับขอบกระดาษทางซ้ายมือ
9. Text default top : เลือกขนาดความห่างของกล่องข้อความกับขอบกระดาษด้านบน
10. Text default width : เลือกขนาดความกว้างของกล่องข้อความ
11. Text default height : เลือกขนาดความสูงของกล่องข้อความ
12. Start with tooltip auto update : เปิดหนังสือพร้อมอับเดทเคล็ดลับเครื่องมือ
13. Auto Start : เปิดหนังสือโดยให้หนังสือเปลี่ยนหน้าอัตโนมัติ
14. Start with background windows : เปิดหนังสือพร้อมฉากหลัง
15. Disable Print Function : สามารถ พริ๊นท์ ฟังก์ชั่นได้
16. Page Turn : ปรับค่าการเปลี่ยนหน้ากระดาษ
17. Fly Speed : เลือกความเร็วในการเปลี่ยนหน้ากระดาษ
18. Start Status : เลือกว่าจะให้มีเมนูบนหนังสือหรือว่าไม่มี
19. DWB Go To : เลือกสไตล์ในการใช้ ฟังก์ชั่น Go To
20. Default Unicode Value : เลือกค่ายูนิโค้ดพื้นฐาน
21. With/Without Password : เลือกว่าจะให้หนังสือมี Password หรือไม่
22. Book Password : .ใส่ Password หนังสือ
23. Book Backup File : เลือกว่าจะให้มีไฟล์ Backup หนังสือกี่ไฟล์
24. Disable Send Mail Function : สามารส่ง Email ได้
25. Disable SaveAs Function : สามารถเซฟได้
26. Book Transparency : กำหนดค่าสีสำหรับส่วนที่โปร่งใส(ไม่แสดงภาพ)
27. Book DRM : เซตค่าการป้องกันต่างๆ
28. Book Email : เซตค่า Email สำหรับหนังสือ
29. Book Multimedia : เซตค่า มัลติมีเดียสำหรับหนังสือ
Book Transparency : กำหนดค่าสีสำหรับส่วนที่โปร่งใส
เป็นการกำหนดสีที่มีแสดงภาพสำหรับปกหน้าและปกหลัง
ให้คลิกเมนู 
Tools > Book Transparency
ที่หัวข้อ Eazy Cover Shape ให้คลิกในช่อง With Transparency และที่หัวข้อ Eazy Back Cover Shape  ให้คลิกในช่อง With Transparency (ถ้ายังไม่เพิ่มหน้าใหม่  จะไม่ปรากฏช่อง  With Transparency)


การสร้าง E-BooK ด้วย DeskTop AuthoR

สร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้วย Desktop Author
1. ความรู้เกี่ยวกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์


E-Book: รูปแบบใหม่ในการอ่านหนังสือ

e-book หรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ คำนี้อาจจะเป็นคำใหม่ในความรู้สึกของหลาย ๆ คน แต่ อีกไม่นานจะเป็นที่รู้จักในหมู่นักอ่านทั้งหลาย โดยเฉพาะในวงการห้องสมุดซึ่งในอนาคตจะมีการเปลี่ยน แปลงรูปแบบให้เป็นห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ห้องสมุดดิจิตัลและห้องสมุดเสมือน เทคโนโลยีนี้ก็คง เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการนำมาให้บริการกับผู้ใช้ ถึงแม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับรูปแบบของ หนังสือก็ไม่จำเป็นว่าเราต้องโยนหนังสือทิ้งไปแล้วหันมาใช้เทคโนโลยีที่กำลังเกิดขึ้นแทนที่เพราะเราก็ไม่ ทราบว่าเมื่อไหร่เทคโนโลยีนี้จะเป็นที่นิยมและยอมรับอย่างแพร่หลาย และถึงแม้ว่าหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์จะเป็นเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ในวงการหนังสือ แต่หนังสือก็ยังมีคุณค่าต่อมนุษย์ในหลาย ๆ ด้าน ดังมีคำยกย่องเกี่ยวกับหนังสือจาก Tony Cawkell ว่าหนังสือจะยังคงมีการจัดพิมพ์อีกหลาย ปี และมีความจริงว่าการได้พบหน้ากันระหว่างหนังสือกับผู้อ่านจะมีความสัมพันธ์กับมนุษย์มากกว่าการ ใช้เครื่องจักร ซึ่งจะมีคำที่เกี่ยวข้องกัน คำ คือการถ่ายโอนข้อมูล และพฤติกรรมของมนุษย์ หากมอง โดยผ่านๆ จะพบว่าการอ่านหนังสือ การสแกนหัวข้อข่าว การประเมินคุณค่ารูปภาพหรือภาพวาด เป็น การหาความบันเทิงที่มีความสุขจากแผ่นกระดาษ และยังสามารถจะเขียนข้อความอื่น ๆ ลงไปได้อีก สามารถนำติดตัวได้ อ่านบนเครื่องบิน รถไฟ ในห้องน้ำก็ได้ และมองดูสวยเมื่ออยู่บนชั้น ให้เป็นของ ขวัญกับคนที่รักได้

ความหมาย
ได้มีผู้ให้ความหมายของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ไว้หลายความหมาย ได้แก่  เป็นคำเฉพาะที่ใช้สำหรับผลิตภัณฑ์ที่เป็นสิ่งพิมพ์ด้านอิเล็กทรอนิกส์และมัลติมีเดีย โดย เฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์ที่เป็นแผ่นจานข้อมูลเสียง (Optical disc) เช่น ซีดีรอม และซีดีไอ และเป็น ซอฟต์แวร์ (ในรูปของดิสก์ขนาด 8ซม.) เป็นคำที่ใช้ในการอธิบายตัวอักษรที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับหนังสือ อยู่ในรูปแบบดิจิตัล โดยแสดงให้เห็นบนจอคอมพิวเตอร์ เป็นหนังสือถูกนำมาจัดพิมพ์ในรูปแบบดิจิตอล ไม่บังคับการพิมพ์ และการเข้าเล่ม แผ่นซีดีรอมสามารถจัดเก็บข้อมูลได้จำนวนมากในรูปแบบของตัวอักษร ทั้งลักษณะภาพ ดิจิตอล ภาพอนิเมชั่น วิดีโอ ภาพเลื่อนไหวต่อเนื่อง คำพูด เสียงดนตรี และเสียงอื่นๆ ที่ประกอบตัว อักษรเหล่านั้น มูลค่าของการจำลองลงบนแผ่นจานข้อมูลเสียง (Optical disc) เพียงแค่เป็นเศษส่วน ของการจัดพิมพ์และการห่อหนังสือในขณะที่มีความจำเป็นที่จะต้องมีฮาร์ดแวร์ในการอ่านหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ และขณะนี้มีราคาหลายระดับ ลักษณะของซอฟต์แวร์ที่เพิ่มเป็นแบบไฮเปอร์มีเดีย (Hypermedia) สามารถแสดงผลของการค้นหาตัวอักษรได้ เชื่อมต่อกับไฮเปอร์เท็กซ์ มีคำแนะนำที่ สามารถอธิบายศัพท์เป็นระบบออนไลน์ และอาจมีหมายเหตุตรงขอบ เป็นต้น  
วิวัฒนาการของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 
ได้มีการกล่าวถึงประวัติความเป็นมาหรือวิวัฒนาการของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไว้ว่าความคิดใน เรื่องหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ได้ปรากฏในนิยายทางวิทยาศาสตร์มาตั้งแต่ภายหลังปี ค.ศ. 1940 เป็นหลัก การใหม่ของคอมพิวเตอร์ตามแบบแผน IBM มีผลิตภัณฑ์ คือ Book Master เนื้อหาหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ในปี 1980 และก่อนปี 1990 ในช่วงแรก มี ส่วน คือ เรื่องเกี่ยวกับคู่มืออ้างอิง และการ ศึกษาบันเทิง งานที่เกี่ยวกับอ้างอิงมักจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการผลิตและการเผยแพร่เอกสารทางวิชาการ พร้อม ๆ กับการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ซับซ้อน เช่น Silicon Graphics , Novell และผู้ผลิตได้ผลิตคู่มือDynatext ของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 12 ชื่อ ตามรูปแบบเทคโนโลยีของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และในช่วงสิบปีมานี้ก็ได้เห็นความพยายามที่จะนำผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกับเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เข้ามา จำหน่ายในโลกแห่งความจริง แต่ส่วนมากก็ล้มเหลว แต่ก็มีบ้างที่ยังพอยู่ในตลาด เช่น Book manหรือ Franklin Bookman ซี่งการใช้งานยังคงห่างไกลที่จะเข้ามาเชื่อมโยงในตลาดกระแสแมนสตีมได้ ปัญหา ของอุปกรณ์เหล่านี้ก็คือ จอภาพขนาดเล็กที่สามารถอ่านออกได้ยาก อายุการใช้งานแบตเตอรี่ที่ค่อนข้าง สั้น อีกทั้งไม่มีเทคโนโลยีในการแปลงรหัส (encryption) เพื่อป้องกันข้อมูลของผู้พิมพ์ในเรื่องของ ลิขสิทธิ์ของตัวอักษร อีกทั้งวิธีจัดจำหน่ายและแสดงผลต่างๆ กันก็ยังไม่สะดวกต่อผู้ใช้ อย่างเช่นการใช้ แผ่นซีดีรอมหรือตลับบรรจุแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์  พัฒนาการอันหนึ่งที่ได้เขามามีส่วนช่วยให้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เกิดการรุดหน้าเร็วขึ้นจน สามารถบรรลุผลในการเป็นหนังสือที่สมบูรณ์แบบก็คือ แล็บท็อปคอมพิวเตอร์ นั่นก็คือการนำบางส่วน ของแล็บท็อป เช่น สกรีน มาใช้ในหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญก็คือ ในระยะเมื่อไม่กี่ปีมานี้ราคาของ ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ได้ลดลงไปมาก จนทำให้การผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีคุณภาพสูง นอก จากนี้การบูมของอินเตอร์เน็ตก็ได้เข้ามาทำให้มนุษย์สามารถส่งสิ่งที่เป็นเอกสารหรือหนังสือได้คราวละ มาก ๆ โดยอาศัยอินเทอร์เน็ตและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อย และไม่ต้องมีดิสก์เก็ตหรือการ์ดสำหรับการใช้ ในการเก็บข้อมูล เช่น นวนิยาย หรือเอกสารตำรา ในกรณีที่มีผู้เกรงว่าจะมีการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วยการ อาศัยไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือในการรับส่งหนังสือ ตำรา หรือนวนิยายนั้น ก็สามารถป้องกัน ได้ด้วยการใช้รหัส (encryption) เพื่อไม่ให้บรรดาผู้ใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถใช้ไปรษณีย์ อิเล็กทรอนิกส์ในการแจกจ่ายเนื้อหาในหนังสือนวนิยายหรือตำรา โดยไม่ต้องไปซื้อหามา อนึ่ง หนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ก็ได้อาศัยหลักการที่ว่าจะนำเทคโนโลยีที่มีความบางเบามากๆ มาใช้ เช่น สกรีน โดยจะละ ทิ้งทุกสิ่งในแล็บท็อปที่มีน้ำหนักมาก เช่น โปรเซสเซอร์แบบเฮฟวี่ดิวตี้ งานพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ จึงได้มุ่งหนักไปในเรื่องของความบางเบาและการพิมพ์ทุกอย่างลงบนแผ่นพลาสติกหรือสิ่งอื่นใดที่จะนำ มาทำหน้าที่คล้ายกับกระดาษให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ อันหมายถึงการพิมพ์ตั้งแต่สิ่งที่เป็นวงจรทาง อิเล็กทรอนิกส์จนถึงสิ่งอื่นๆ เช่น หน่วยความจำสำรอง (ภายในหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะไม่มีซีพียู) ลงบน แผ่นบางๆ ที่จะทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์อันเนื่องจากต้องการประหยัดน้ำ หนัก นอกจากนี้ลักษณะที่กล่าวมาของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ก็ยังมีส่วนที่เรียกว่าเนื้อหาด้วยซึ่งเนื้อหา ในที่นี้ได้มีกล่าวไว้ว่า เนื้อหา (content) เป็นเครื่องมือที่สามารถใช้ประโยชน์บนเครือข่ายมีความสามารถ ในการส่งสัญญาณเสียง การแพร่กระจายของวัสดุ                                              ที่มา : http://agritech.doae.go.th/e-learning/home/ebook.htm
ประเภทของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
               
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ แบ่งออกเป็น 10 ประเภท ดังนี้คือ 
 1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือแบบตำรา (Textbooks) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ รูปหนังสือปกติที่พบเห็นทั่วไป หลักหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ชนิดนี้สามารถกล่าวได้ว่าเป็นการแปลงหนังสือจากสภาพสิ่งพิมพ์ปกติเป็นสัญญาณดิจิตอล เพิ่มศักยภาพเดิมการนำเสนอ การปฏิสัมพันธ์ ระหว่างผู้อ่านหนังสืออีเล็กทรอนิกส์ ด้วยศักยภาพของคอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐาน เช่น การเปิดหน้าหนังสือ การสืบค้น การคัดเลือก เป็นต้น

 2) หนังสืออีเล็กทรอนิกส์ แบบหนังสือเสียงอ่าน มีเสียงคำอ่าน เมื่อเปิดหนังสือจะมีเสียง
อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทเหมาะสำหรับหนังสือเด็กเริ่มเรียน หรือหนังสือฝึกออกเสียง หรึอฝึกพูด (Talking Book1) เป็นต้น หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ชนิดนี้เป็นการเน้นคุณลักษณะด้านการนำเสนอเนื้อหาที่เป็นตัวอักษรและเสียงเป็นคุณลักษณะหลัก นิยมใช้กับกลุ่มผู้อ่านที่มีระดับลักษณะทางภาษาโดยเฉพาะด้านการฟังหรือการอ่านค่อนข่างต่ำ เหมาะสำหรับการเริ่มต้นเรียนภาษาของเด็ก ๆ หรือผู้ที่กำลังฝึกภาษาที่สอง หรือฝึกภาษาใหม่เป็นต้น

 3) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบหนังสือภาพนิ่ง หรืออัลบั้มภาพ (static Picture Books) เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ที่มีคุณลักษณะหลักเน้นจัดเก็บข้อมูล และนำเสนอข้อมูลในรูปแบบภาพนิ่ง (static picture) หรืออัลบั้มภาพเป็นหลัก เสริมด้วยการนำศักยภาพของคอมพิวเตอร์มาใช้ในการนำเสนอ เช่น การเลือกภาพที่ต้องการ การขยายหรือย่อขนาดของภาพของคอมพิวเตอร์มาใช้ในการนำเสนอ เช่น การเลือกภาพที่ต้องการ การขยายหรือย่อขนาดของภาพหรือตัวอักษร การสำเนาหรือการถ่ายโอนภาพ การแต่งเติมภาพ การเลือกเฉพาะส่วนของภาพ (cropping) หรือเพิ่มข้อมูล เชื่อมโยงภายใน (Linking information) เช่น เชื่อมข้อมูลอธิบายเพิ่มเติม เชื่อมข้อมูลเสียงประกอบ เป็นต้น

 4) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ แบบหนังสือภาพเคลื่อนไหว (Moving Picture Books) เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่เน้น การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบภาพวีดิทัศน์ (Video Clips) หรือภาพยนตร์สั้น ๆ (Films Clips) ผนวกกับข้อมูลสนเทศที่อยู่ในรูปตัวหนังสือ (Text Information) ผู้อ่านสามารถเลือกชมศึกษาข้อมูลได้ ส่วนใหญ่นิยมนำเสนอข้อมูลเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ หรือเหตุการณ์สำคัญ เช่น ภาพเหตุการณ์สงคราโลก ภาพการกล่าวสุนทรพจน์ของบุคคลสำคัญ ๆ ของโลกในโอกาสต่าง ๆ ภาพเหตุการณ์ความสำเร็จหรือสูญเสียของโลกเป็นต้น

 5) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบหนังสือสื่อประสม (Multimedia) เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่เน้นเสนอข้อมูลเนื้อหาสาระ ในลักษณะแบบสื่อผสมระหว่างสื่อภาพ (Visual Media) เป็นทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวกับสื่อประเภทเสียง (Audio Media)ในลักษณะต่าง ๆ ผนวกกับศักยภาพของคอมพิวเตอร์อื่นเช่นเดียวกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ที่กล่าวมาแล้ว
 6) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบหนังสือสื่อหลากหลาย (Polymedia books) เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะเช่นเดียวกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบสื่อประสม แต่มีความหลากหลายในคุณลักษณะด้านความเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลภายในเล่มที่บันทึกในลักษณะต่าง ๆ เช่น ตัวหนังสือภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียงดนตรี และอื่น ๆ เป็นต้น

 7) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบหนังสือเชื่อมโยง ( Hypermedia Book) 
เป็นหนังสือที่มีคุณลักษณะสามารถเชื่อมโยงเนื้อหาสาระภายในเล่ม (Internal Information Linking) ซึ่งผู้อ่านสามารถคลิกเพื่อเชื่อมไปสู่เนื้อหาสาระที่ออกแบบเชื่อมโยงกันภายใน ภารเชื่อมโยงเช่นนี้มีคุณลักษณะเช่นเดียวกับบทเรียนโปรแกรมแบบแตกกิ่ง ( Branching Programmed Instruction)นอกจากนี้ยังสามารถเชื่อมโยงกับแหล่งเอกสารภายนอก (External or Information Sources) เมื่อเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ต

 8) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบหนังสืออัจฉริยะ ( Intelligent Electronic Books)
 เป็นหนังสือประสม แต่มีการใช้โปรแกรมชั้นสูงที่สามารถมีปฏิกิริยา หรือ ปฏิสัมพันธ์ กับผู้อ่านเสมือนหนังสือมีสติปัญญา (อัจฉริยะ) ในการไตร่ตรอง หรือคาดคะเนในการโต้ตอบ หรือปฏิกิริยากับผู้อ่าน

 9) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ แบบสื่อหนังสือทางไกล ( Telemedia Electronic Books)

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทนี้มีคุณลักษณะหลักต่าง ๆ คล้ายกับ Hypermedia Electronic Books
แต่เน้นการเชื่อมโยงกับแหล่งข้อมูลภายนอกผ่านระบบเครือข่าย ( Online Information Sourcess) ทั้งที่เป็นเครือข่ายเปิด และเครือข่ายเฉพาะสมาชิกของเครือข่าย

 10) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบหนังสือไซเบอร์เสปซ (Cyberspace books) 
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทนี้มีลักษณะเหมือนกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์หลาย ๆ แบบที่กล่าวมาแล้วผสมกัน สามารถเชื่อมโยงแหล่งข้อมูลทั้งจากแหล่งภายในและภายนอกสามารถนำเสนอข้อมูลในระบบสื่อที่หลากหลาย สามารถปฏิสัมพันธ์กับผู้อ่านได้หลากหลาย